top of page

WordPress

WordPress คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีไว้เพื่อสร้างและจัดการเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ต ( Contents Management System หรือ CMS) กล่าวคือ แทนที่เราจะดาวโหลดโปรแกรมมาทำการสร้างและออกแบบเว็บไซต์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอย่างเช่น Macromedia Dreamwaver, Microsoft Fontpage (มีใครทันรึเปล่า) เป็นต้น แต่ CMS นั้นถูกสร้างมาเพื่อใช้งานบนอินเตอร์เน็ตโดยตรง หมายความว่าเมื่อคุณจะใช้งานโปรแกรมนี้ คุณก็สามารถใช้ได้ทันทีผ่านอินเตอร์เน็ต เพียงแค่คุณล็อกอินเข้าสู่ระบบจัดการของ CMS นั้นๆ บางคนอาจจะคุ้นหูกับ cms เจ้าอื่น เช่น  joomla, simple machines, open cart, magento เป็นต้น

 

ข้อดีของ CMS ก็คือ สะดวกต่อการใช้งาน คุณไม่ต้องเริ่มสร้างเว็บจาก 0 ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางโปรแกรมเมอร์ เพราะระบบมีทุกอย่างไว้ให้ คุณมีหน้าที่เพียงแค่ใส่เนื้อหาของคุณเข้าไป

ข้อเสียของ CMS คือ บางครั้งก็อาจมีมากเกินความจำเป็น

our_services
WordPress เขียนด้วยภาษา PHP และใช้ Apache, MySQL และ PhpMyAdmin ในการรันเป็นเซิฟเวอร์ คุณสามารถลองใช้โปรแกรม DesktopServer เพื่อจำลองเซิฟเวอร์สำหรับติดตั้งและใช้งาน WordPress ได้ เพราะ WordPress นั้นจะรันอยู่บนฝั่งเซิฟเวอร์ เราจึงต้องมีเครื่องมือจำลองเซิฟเวอร์ซะก่อน

WordPress Core

คือ ตัวขับเคลื่อนหลัก เปรียบเสมือนเครื่องยนต์หลักของรถทุกคัน โดยเราสามารถดาวน์โหลด WordPress เวอร์ชั่นล่าสุดได้ที่ WordPress.org และ th.wordpress.org สำหรับเวอร์ชั่นภาษาไทย

Themes
เป็นส่วนแสดงผลภายนอก แล้วยังมีฟังชั่นเสริมต่างๆ มาด้วย เปรียบเสมือนดีไซน์ของรถซึ่งแต่ละบริษัทก็จะออกแบบมาแตกต่างกัน มีฟังชั่นพิเศษต่างกัน มีทั้งธีมฟรีและธีมแบบพรีเมี่ยม เราสามารถดาวน์โหลดธีมฟรีได้

Plugins

คือ ส่วนเสริมของ WordPress ที่ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับเว็บ เปรียบเสมือนการอัพเกรดเครื่องยนต์ให้ทำงานในแบบที่เราต้องการ หรือแม้แต่ดัดแปลงการสำหรับการใช้งานเฉพาะด้าน เช่น การใช้ปลั๊กอิน WooCommerce เพื่อสร้างร้านค้าขายสินค้าออนไลน์ ปลั๊กอิน Seed Social ที่ใช้แชร์บทความไปยัง Social Network ของไทยที่สามารถแชร์ไปที่ Line ได้ด้วย

ความแตกต่างระหว่าง WordPress.com และ WordPress.org
1.wordpress.com  นั้นก็เหมือนกับผู้บริการบล็อกฟรีทั่วไป เช่น Blogger ของ Google, Tumbr หรือแม้แต่ของไทยอย่าง Bloggang ของเว็บ Pantip โดย WordPress ก็จะให้บริการพื้นที่ฟรีสำหรับการเขียนบล็อก
2.wordpress.org โดยจะมีลักษณะเหมือนกับ WordPress.com แทบทุกประการ เพียงแต่ WordPress.org นี้ จะนำเอาตัวหลักที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อน  WordPress.com ออกมาให้เราดาวน์โหลดไปใช้งาน โดยเราจะต้องไปหาส่วนประกอบอื่นๆ
about
contact

WordPress เหมาะกับเว็บไซต์แบบไหน

จริงๆ แล้ว WordPress เหมาะกับการทำเว็บไซต์ทุกแบบ แต่บางแบบนั้นเราอาจต้องรู้ลึกซึ้งหรือมีพื้นฐานทางด้านโปรแกรมเมอร์ด้วย ดังนั้น ณ ที่นี้เราจะขอพูดในแง่ของ Beginner จริงๆ เพราะ CMS แต่ละตัวนั้นก็มีจุดเด่นแตกต่างการ เว็บเหล่านี้เป็นเว็บที่เหมาะกับการใช้งาน WordPress ค่ะ

  1. เว็บบล็อก เหมาะมากสุดๆ เป็น cms ที่บล็อกเกอร์ใช้งานมากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้

  2. เว็บ Article เขียนบทความต่างๆ รีวิวโรงแรม ร้านอาหาร งานฝีมือ แอปมือถือ ฯลฯ

  3. เว็บข่าว เว็บวาไรตี้ การจัดหมวดหมู่และแท็ก ( Categories, Tags ) ใน WordPress นั้นช่วยได้ง่ายมากๆ ธีม Magazine ก็เยอะสุดๆ เช่นกัน เว็บข่าวที่ไม่ใช่สำนักข่าวโดยตรงก็มักจะใช้ WordPress เพราะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า

  4. เว็บ Portfolio มีธีมเกี่ยวกับ Portfolio เยอะมากมายให้คุณนำเสนอผลงานของคุณได้อย่างน่าสนใจ

  5. เว็บบริษัท มีธีมที่ดูน่าเชื่อถือ เป็น Professional ให้เลือกมากมาย มีเครื่องมือครบครันโดยเราไม่ต้องจ้างออกแบบเพิ่ม

  6. เว็บไซต์ e-commerce ขายสินค้าออนไลน์ โดยใช้ปลั๊กอินเช่น WooCommerce หรือ Easydigitaldownloads

  7. นอกจากนี้ WordPress ยังสามารถสร้างเว็บบอร์ด และเว็บ community ได้ด้วย โดยใช้ปลั๊กอินเช่น bbPress

  8. เว็บไซต์ที่ต้องการความแรงในด้าน SEO เพราะ WP ถือว่าเด่นในเรื่องนี้มากๆ เขียนเล่นๆ ก็ติดผลการค้นหาใน Google ได้

  9. เว็บไซต์ที่มีหลายภาษา WordPress นั้นถูกแปลทั่วโลกรวมทั้ง ภาษาไทย และยังมีปลั๊กอินที่ช่วยจัดการเนื้อหาสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการใช้หลายภาษาด้วย เช่น WPML, Polylang

  10. หากใครยังนึกไม่ออกว่า WordPress สามารถทำเว็บแบบไหนได้บ้าง ลองดู Demo หรือ Preview ของธีมแต่ละธีมดูค่ะ (แต่ถ้าของ wordpress.org พรีวิวกับภาพตัวอย่างอาจจะไม่เหมือนกัน ต้องดูที่เว็บต้นฉบับ) เราจะได้เห็นว่ามันสามารถสร้างเว็บหน้าตาแบบไหนให้เราได้บ้าง ลองดูธีมมากมายจาก Themeforest.net ที่มีธีมให้เลือกทำเว็บไซต์มากกว่า 6,000+ ธีม

สร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress ยากหรือง่ายแค่ไหน

WordPress ถูกสร้างมาเพื่อให้ใช้งานง่ายที่สุด แต่แน่นอนว่าแต่ละคนมีความเร็วในการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีต่างกัน และด้วย WordPress นั้นสร้างมาเพื่อรองรับเว็บหลายแบบ ดังนั้นมันก็จะมีการตั้งค่าต่างๆ พอสมควร โดยเฉพาะเมื่อเราติดตั้งปลั๊กอินมากขึ้นก็ยิ่งจะต้องตั้งค่ามากขึ้นด้วย (ถึงได้บอกว่า ถ้าเขียนบล็อกอย่างเดียว ไม่พร้อม ไม่อยากเรียนรู้ ไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น ให้ไปใช้ WordPress.com แทน)

สำหรับการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress นั้น นอกจากการจัดการข้อความต่างๆ แล้ว สิ่งที่จะทำให้เว็บของเราเป็นรูปเป็นร่างสวยงามนั้น พระเอกสำหรับงานนี้ก็คือ Theme นั่นเอง

โดยธีมนั้นจะมีทั้งธีมเฉพาะด้าน ที่จะกำหนดตำแหน่งต่างๆ มาไว้เรียบร้อย ธีมแบบนี้ช่วยให้เราทำงานได้ง่าย การตั้งค่าไม่เยอะมาก แค่กำหนดข้อมูลว่าเราอยากจะให้อะไรไปโผล่ส่วนไหนบ้าง ธีมก็จะจัดการออกมาให้เราโดยไม่ต้องวุ่นวายกับการตั้งค่ายิบย่อยเยอะๆ มีหลายแนว ไม่ว่าจะแนว Magazine, Business, Blog, eCommerce เป็นต้น เว็บธีมต่างๆ มักจะแบ่งประเภทไว้ให้เราเรียบร้อยแล้ว แต่จริงๆ แล้วมันก็อยู่ที่จินตนาการของเราว่าจะประยุกต์เอาธีมไหนมาทำอะไร เพราะเราสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมได้อยู่แล้ว

ส่วนธีมอีกแบบ เรียกว่าเป็น Page Builder คือธีมที่ประกอบไปด้วยโมดูลหรือชิ้นส่วนต่างๆ เยอะแยะมากมายให้เรานำมาประกอบกันเพื่อสร้างหน้าเว็บที่ต้องการเอง ธีมแบบนี้สามารถที่จะสร้างเว็บได้หลากหลายแนว อาจจะเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นธีมแนว Multipurpose ธีมแบบนี้เหมาะสำหรับการสร้างเว็บที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร เพราะสามารถสร้างหน้าตาที่แตกต่าง ไม่ถูกกำหนดไว้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ทุกส่วนที่นำมาประกอบกัน ก็ต้องตั้งค่าแต่ละส่วนด้วย เว็บที่เหมาะกับแนวนี้เช่น เว็บบริษัทหรือ Coporate เพราะแต่ละบริษัทก็จะมีข้อมูลที่แตกต่างกัน สำหรับแสดงผลงานหรือสำหรับนักออกแบบต้องการนำเสนอจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งธีมแนวนี้จะตอบโจทย์มากที่สุด เช่น Divi themeThe7AvadaX The ThemeTotal เป็นต้น

เราสามารถเลือกธีมที่สวยงาม มีการจัดวาง รูปแบบ สีสัน ในแบบที่เราชอบ ที่เหลือก็จะเป็นการทำคอนเท้นของเราให้สวยงาม ก็จะทำให้เว็บของเราดูดีมีสไตล์ขึ้นมาได้ โดยแทบไม่ต้องรำ่เรียนมาทางด้านนี้โดยตรงก็ได้ หากแต่เราอาจจต้องตามเทรนและดูการออกแบบของเว็บที่สวยๆ ไว้เป็นแรงบันดาลใจมากๆ และรู้ว่าเราต้องการให้เว็บเราออกมาแบบไหน มีจุดยืนเป็นของตัวเอง ก็จะทำให้เว็บไซต์ของเรานั้นโดดเด่นออกมาจากเว็บของคนอื่นได้

การตั้งค่าที่จำเป็น ใน WordPress

ในระบบของ WordPress มีการตั้งค่าอยู่หลายหัวข้อที่เราจำเป็นต้องรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราแก้ไขการตั้งค่าบางตัว ไม่ถูกต้อง ก็มีโอกาสที่จะทำให้ WordPress ทำงานไม่ได้ ดังนั้น เราต้องทำความเข้าใจในส่วนนี้ให้ดี

การตั้งค่า General Settings หรือ การตั้งค่าทั่วไป

เมื่อเราเข้าไปที่เมนู Settings แล้วไปที่ General สิ่งสำคัญในการตั้งค่าหัวข้อนี้ก็คือ การตั้งชื่อเว็บไซต์ของเรา และ Tagline การตั้งชื่อเว็บไซต์ที่ดี จะทำให้คนค้นหาเราจาก Search Engine ได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ถ้าเรา ตั้งชื่อไม่ดี คนก็จะค้นหาเราเจอได้ยากขึ้น สำหรับเคล็ดลับการตั้งชื่อ ผมได้ทำวีดีโออย่างละเอียด พร้อมคำอธิบายเอาไว้ที่นี่แล้วครับ

การตั้งค่าหน้าแรกในเว็บไซต์ด้วย Reading Settings

ในส่วนนี้ครับ Settings และ Reading จะเป็นส่วนที่เรามาตั้งค่าหน้าแรกเหมือนที่ผมได้ เกริ่นนำไปแล้วครับก่อนหน้านี้ ตรงนี้       สถานที่ ที่เราสามารถที่จะตั้งค่าหน้าแรกของเว็บไซต์เราได้อย่างถูกต้อง

เราสามารถตั้งค่าหน้าแรกของเราที่ Homepage ใน Settings และ Reading ได้เลย และเลือกหน้าเว็บไซต์ที่เราต้องการเพื่อให้เป็นหน้าแรก แต่มีข้อแม้อย่างเดียวว่า หน้าที่เราเลือกจะต้องเป็นหน้าที่เผยแพร่แล้วเท่านั้น

Posts Page คือ อะไร ?

Post คือ บทความ ใน WordPress หรือที่เราเรียกว่า การเขียน Blog นั่นเอง ซึ่งในท่อนต่อไปของทความนี้ จะมีสอนในเรื่องของการเขียน Blog ครับ ดังหน้า Post(s) หรือว่า โพสเติมเอส ก็คือ โพสหลายโพสครับ ดังนั้น หน้าที่เรียกว่า Posts Page ก็คือ หน้าที่มีรายการของโพสหลายโพสอยู่รวมกันนั่นเอง การตั้งค่าในส่วนนี้ จะทำให้หน้าที่เราสร้างเอาไว้ เป็นหน้ารายการของบทความโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าหน้านั้นจะมีข้อมูลอะไรอยู่ก็ตาม จะถูกแทนที่ด้วยหน้ารายการของบทความครับ

เขียน Blog เริ่มอย่างไรใน WordPress

WordPress เป็นอย่างไรในปัจจุบัน

ตารางข้อมูลด้านล่าง บอกรายละเอียดของ WordPress ในปัจจุบันครับ

จำนวนเว็บไซต์ ที่ใช้งาน WordPressคิดเป็น 32% ของจำนวนเว็บไซต์บนโลก

จำนวน Template หรือ Themeมากที่สุดในโลกของ CMS

จำนวน Plugins หรือ Addonsมากกว่า CMS ตัวอื่นๆในโลก

ความง่ายในการใช้งานใช้งานง่ายกว่า Open Source CMS ตัวอื่น อย่าง Joomla, Drupal

แหล่งข้อมูลการใช้ WordPressจำนวนมหาศาล มีแทบทุกภาษา

จำนวนนักพัฒนาเว็บไซต์ที่ใช้ WordPressมากที่สุดในบรรดา CMS

Capture.PNG

เขียน Blog เริ่มอย่างไรใน WordPress

ก่อนหน้านี้ เราอาจจะเห็นว่า เราสามารถใส่ข้อมูลในหน้าเว็บไซต์ได้ โดยการใช้ Pages ของ WordPress แต่ในขั้นตอนนี้ เราจะเริ่มเขียน Blog กันครับ โดยเราจะใช้ Posts ในการเขียนครับ แต่ก่อนอื่น เราจะต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า Page คือ อะไร และ Post คืออะไร ใน WordPress ครับ

wordpress-018.jpg

วีธีการ สร้างเมนู ใน WordPress

สิ่งที่ขาดไม่ได้อีกสิ่งหนึ่งในการสร้างเว็บไซต์ก็คือ เมนู ครับ ซึ่งเมนูนี้เอง จะเป็นตัวแปลที่สำคัญ สำหรับการทำ เว็บไซต์ของเรา เพราะว่า คนดูจะหาของที่เขา อยากจะหาเจอหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ การจัดวางเมนูในเว็บไซต์ของเรานั่นเอง ในภาษาอังกฤษ เมนู เขาเรียกว่า Navigation ก็คือการนำทางนั่นเอง ถ้าเรานำทางไม่ดี คนที่เข้ามาในเว็บไซต์ก็อาจจะหลงทางได้ครับ ดังนั้น มาสร้างเมนูให้ดีกันเถอะครับ

วิธีการสร้างเมนู แบบเร่งด่วน

ให้เราเข้าไปที่ Appearance และ Menus ครับ เราเริ่มต้นด้วยการ Create Menu กันก่อนครับ

Capture.PNG
987.PNG

ขั้นตอน การใส่ข้อมูล ลงไปในเมนู WordPress

  1. ให้เราเลือกว่า เราจะใส่ข้อมูลอะไรลงไปลงในเมนู ข้อมูลก็คือ ข้อมูลที่อยู่ใน WordPress เช่น หน้า และ เรื่องใน WordPress ครับ

  2. กดปุ่ม Add to Menu เพื่อเพิ่ม สิ่งที่เราเลือกลงไปใน เมนูได้เลยครับ

  3. เราสามารถปรับแต่ง คำพูดของสิ่งที่เราจะใช้แสดงในเมนูได้ครับ

  4. อย่าลืมกด Save ด้วยนะครับ

ถ้าต้องการลบสิ่งของออกจากเมนู เราสามารถใช้วิธี เปิดกล่องออกมา แล้วคลิกไปที่ Remove ได้ครับ

ติดตั้งเมนูให้กับธีม ทำอย่างไร

เมนู ถ้าเราสร้างเฉยๆ มันจะไม่ไปอยู่ในหน้าเว็บไซต์เราครับ วิธีการที่จะให้เมนูอยู่ในเว็บไซต์ของเรา เราสามารถที่จะติดตั้งเมนูไปในหน้าเว็บไซต์ ในพื้นที่ของธีม ที่ธีมนั้นเตรียมมาให้เราใส่เมนูลงไปครับ ซึ่งพื้นที่ตรงนี้เราเรียก่า Menu Location ครับ

Captureq.PNG

ติดตั้งเมนูลงในธีม ด้วย Menu Location

ใน 1 ธีม สามารถมีพื้นที่ ให้เราติดตั้ง เมนู ได้หลายตำแหน่งครับ ตัวอย่างเช่น ในธีมนี้ สามารถติดตั้งเมนูได้ถึง 3 ตำแหน่งด้วยกัน นั่นก็คือ Primary Menu, Footer Menu และ Social Links Menu ครับ เราสามารถที่จะติดตั้ง 1 เมนู ไปยังตำแหน่ง 2 ตำแหน่งพร้อมกัน ก็ได้ เลือกตำแหน่งเสร็จแล้ว อย่าลืมกดปุ่ม Save ครับ

ผมมีวิดีโอ การสร้างเมนู และการปรับแต่งเมนู อย่างละเอียด มาให้ชมกันครับ

รู้จักและใช้งาน Sidebar และ Widgets

คำว่า Sidebar ใน WordPress เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า Widget Area หรือ พื้นที่สำหรับ ใส่ Widgets นั่นเอง และ ตัว Widget พูดตามตรงว่า ไม่มีคำแปลครับ แต่มัน คือ ชิ้นส่วน ที่เราสามารถนำใส่เข้าไปได้ใน Sidebar หรือ Widget Area ซึ่งต่อไปนี้ผมเรียกสั้นๆว่า Sidebar ก็แล้วกันครับ อย่า งง นะครับ

ในสมัยก่อน Sidebar ชอบอยู่ตำแหน่ง ที่เป็นแถบด้านข้างของเว็บไซต์ จึงได้ชื่อว่า Sidebar ครับ แต่สำหรับธีมสมัยใหม่ Sidebar สามารถอยู่ได้ทุกที่ ตามที่คนเขียนธีมนั้นจะกำหนดครับ

Capture654.PNG

แสดง Sidebar/Widget Area ในหน้าเว็บไซต์ของเรา

จากรูปเราจะเห็นว่า ในธีมนี้ มี Sidebar หรือว่า Widget Area อยู่ทางด้านขวามือของเนื้อหา แต่ที่จริงแล้ว ถ้าเราดูรูปถัดไป เราจะเห็นว่า ธีมนี้ มี Sidebar หรือ Widget Area อยู่อีกหลายกล่องเลยทีเดียว

654321.PNG

Sidebar หรือ Widget Area ในระบบหลังบ้านของ WordPress

หลังจากที่เราเข้า เมนู Appearance แล้วมาที่ Widgets แล้ว เราจะเห็นได้ว่า ธีมนี้ มีกล่องหลายกล่องเลยทีเดียว บางกล่องก็ยังว่างอยู่ เพราะเรายังไม่ได้ใส่ Widget ของเราลงไปนั่นเอง ส่วน Widget ที่ใส่ได้ จะอยู่ทางซ้ายมือของหน้าจอ เราสามารถใส่ Widget เข้าไปใสแต่ละกล่องได้เลย จะใส่ประเภท Widget เดียวกัน ซ้ำในกล่องเดียวกันก็ได้ วิธีการใส่ Widget มี 2 วิธีครับ

การอัพเดท Version ของ WordPress

ในระบบ WordPress เราสามารถที่จะทำการอัพเดท เวอร์ชัน ทั้งตัว WordPress เอง เราเรียกว่า WordPress Core , Plugins และ Themes ก็สามารถอัดเดทได้เช่นเดียวกัน

การเรียนรู้ WordPress ขั้นถัดไป

สำหรับใครที่อ่าน หรือ ทำตามบทความนี้เรียบร้อยแล้ว ถือได้ว่า มีความรู้ เรื่อง WordPress ในระดับพื้นฐานเรียบร้อยแล้วครับ ขั้นต่อไปคือการหาประสบการณ์ครับ การลงมือทำจริงให้เป็นรูปเป็นร่าง และ การศึกษาเครื่องมือ และเทคนิคต่างๆ เพิ่มเติมในการทำเว็บไซต์

เทคโนโลยีในการสร้างเว็บไซต์ ตั้งแต่ผมทำงานด้านการสร้างเว็บไซต์มา ยังไม่เคยหยุดนิ่งเลยสักวัน นับวันมีแต่เครื่องมือที่จะช่วยให้เราสร้างเว็บไซต์ของเราง่ายขึ้นเรื่อยๆครับ ยิ่งเราศึกษามากเท่าไร เราก็จะยิ่งรู้ว่า การสร้างเว็บไซต์ ในปัจจุบันนี้ ไม่ยากเลยจริงๆ

ขอให้ทุกท่านสร้างเว็บไซต์ได้สำเร็จนะครับ 🙂
พลากร สอนสร้างเว็บ

เปลี่ยนลุค WordPress ให้สวยด้วย Themes

ธีมเป็นเรื่องที่คนให้ความสำคัญค่อนข้างมาก ใน WordPress เพราะเว็บไซต์ของเรา จะสวยหรือไม่สวย ส่วนหนึ่ง อยู่ที่การเลือกธีมด้วย ถ้าเราเลือกธีมที่ดี ก็มีโอกาส ที่จะทำให้เว็บของเราสวยได้ง่าย แต่ถ้า เราเลือกธีมไม่ดี การปรับแต่งก็จะทำได้ยากเช่นกัน

ธีม ถ้าเราพูดในภาษาของการพัฒนาเว็บไซต์ เราอาจจะเรียกได้อีกอย่างหนึ่งได้ว่า Template หรือ รูปแบบของเว็บไซต์ เพื่ออธิบายให้เข้าใจอย่างรวดเร็วก็คือ การเปลี่ยนธีม เท่ากับ การเปลี่ยน รูปแบบของเว็บไซต์

เปรียบเทียบการสร้างเว็บไซต์ WORDPRESS VS. WIX

เปรียบเทียบการสร้างเว็บไซต์ WORDPRESS VS. WIX

wordpress-vs-wix-1200x600.jpg

หากพูดถึงการสร้างเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ถ้าเป็นเมื่อก่อนหลายคนคงรู้สึกว่ายาก ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์มาเขียนโค้ดเพื่อสร้างหน้าเว็บเพจ วางฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ ในเว็บไซต์ให้เรา แต่ในปัจจุบันการสร้างเว็บไซต์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะเดี๋ยวนี้มีเครื่องมือสำหรับสร้างเว็บไซต์ให้เราเลือกใช้มากมาย ซึ่งเครื่องมือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้น WordPress และ Wix

เพราะทั้ง WordPress และ Wix  ต่างก็เป็นเครื่องมือที่เราสามารถใช้สร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเองได้ แม้ไม่มีทักษะหรือความชำนาญด้านการเขียนโค้ด สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกใช้เครื่องมือตัวไหนในการสร้างเว็บไซต์ ลองตาม DIGITORY ไปดูข้อมูลเปรียบเทียบจุดเด่น จุดด้อยของทั้งสองเครื่องมือนี้กันเลยค่ะ

WordPress

wordpress-768x768.jpg

เป็นแพลตฟอร์มสำหรับสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูป สามารถสร้างและจัดการเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ต โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดหรือมีความรู้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่ง WordPress  มีให้เลือกใช้ 2 แบบ

  • WordPress.org

เป็น Opensource Software สามารถดาวน์โหลดและใช้ได้ฟรี (ดูเพิ่มเติม ที่นี่ ) มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งแก้ไขหน้าตาเว็บไซต์ได้อย่างอิสระ สามารถติดตั้ง Plugin หรือ Theme ของเว็บจากที่อื่น ๆ ได้ เพื่อให้เว็บไซต์มีฟังก์ชันที่สอดคล้องต่อการใช้งานมากขึ้น แต่ต้องเช่า Hosting เพื่อติดตั้ง เหมาะกับการทำเว็บไซต์แบบ e-commerce และต้องมีความละเอียดในการติดตั้ง Plugin ต่าง ๆ

  • WordPress.com

เป็นแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ที่มีให้เลือกทั้งแบบฟรี และเสียค่าใช้จ่าย (มีแพ็กเกจให้เลือกหลายระดับตามความต้องการ ดูเพิ่มเติม ที่นี่ ) มีพื้นที่ Hosting ฟรี เพียงแค่สมัครใช้งานก็เริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ได้เลย แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องของการปรับแต่งและแก้ไขหน้าตาเว็บไซต์ที่ทำได้น้อยกว่าแบบแรก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น หรือการทำเว็บไซต์แบบบล็อก

  • จุดเด่น

  • มี Theme ให้เลือกใช้หลากหลาย (ฟรีและเสียเงิน) และสามารถเปลี่ยนได้บ่อยเท่าที่ต้องการ และสามารถใช้ Theme จากภายนอกได้

  • เหมาะกับการทำ SEO เพียงแค่ติดตั้ง Plugin เช่น Yoast SEO ก็สามารถตรวจสอบการทำ SEO ได้อย่างง่าย ๆ

  • สามารถปรับแต่งบล็อกให้สวยงามได้ง่าย มีตัวเลือกการจัดแต่งข้อความหลากหลาย

  • สามารถติดตั้ง Plugin อื่น ๆ ได้มากมาย เพื่อเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ความต้องการ

  • จุดด้อย

  • แม้การปรับแต่งสามารถทำได้อิสระ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดภายใต้ Theme ที่เลือกใช้ และไม่มีตัวอย่างแสดงให้เห็นไปพร้อมกับการแก้ไข

  • ไม่มีระบบร้านค้าในตัว ต้องติดตั้ง Plugin เพื่อสร้างระบบการซื้อขายสินค้า เช่น WooCommerce

  • ต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานเมื่อมีการแก้ไขโค้ด

WIX

wix-768x768.jpg

เป็นแพลตฟอร์มการสร้างเว็บไซต์ที่ใช้งานได้ง่าย มีเทมเพลตให้เลือกหลากหลาย มีตัวเลือกการปรับแต่ง 2 แบบ คือ Wix Artificial Design Intelligence เป็นการปรับแต่งแบบเรียบง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น และ Wix Editor ที่สามารถปรับแต่งได้ด้วยตัวเอง หากต้องการเพิ่มคุณสมบัติการใช้งานขั้นสูงลงในเว็บไซต์ มีเซิร์ฟเวอร์รองรับไม่จำเป็นต้องหาจากที่อื่น (ดูเพิ่มเติม ที่นี่ )

Wix มาพร้อมกับเครื่องมือการปรับแต่งแบบลากและวาง สามารถเพิ่มองค์ประกอบพื้นฐาน เช่น ข้อความ, รูปภาพ, วิดีโอ และองค์ประกอบขั้นสูง เช่น ปุ่ม, ไอคอนสื่อสังคมออนไลน์, เมนู, แบบฟอร์ม ได้ เพียงแค่เลือกองค์ประกอบใหม่จากเมนู “+” (เพิ่ม) และลากไปยังหน้าที่ต้องการได้ทันที

จุดเด่น

  • มีเทมเพลตให้เลือกใช้มากกว่า 500 แบบ เพื่อให้เข้ากับเว็บไซต์ประเภทต่าง ๆ

  • มี Wiz SEO ที่แนะนำการทำ SEO เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้าน SEO

  • การปรับแต่งและแก้ไขทำได้ลื่นไหล มีตัวอย่างแสดงให้เห็นไปพร้อมกับการแก้ไข

  • ไม่ต้องติดตั้ง Plugin เพื่อสร้างระบบการซื้อขายสินค้า แต่ต้องอัปเกรด Wix เป็นแผนธุรกิจเพื่อรับการชำระเงิน

จุดด้อย

  • ไม่สามารถปรับเปลี่ยนเทมเพลตได้ในภายหลัง

  • ตัวเลือกการปรับแต่งบล็อกทำได้น้อย ไม่สามารถเพิ่มส่วนหัวที่มีขนาดต่างกัน (H1, H2, H3) และไม่มีตัวเลือกสี

จุดเด่น

  • มีเทมเพลตให้เลือกใช้มากกว่า 500 แบบ เพื่อให้เข้ากับเว็บไซต์ประเภทต่าง ๆ

  • มี Wiz SEO ที่แนะนำการทำ SEO เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้าน SEO

  • การปรับแต่งและแก้ไขทำได้ลื่นไหล มีตัวอย่างแสดงให้เห็นไปพร้อมกับการแก้ไข

  • ไม่ต้องติดตั้ง Plugin เพื่อสร้างระบบการซื้อขายสินค้า แต่ต้องอัปเกรด Wix เป็นแผนธุรกิจเพื่อรับการชำระเงิน

จุดด้อย

  • ไม่สามารถปรับเปลี่ยนเทมเพลตได้ในภายหลัง

  • ตัวเลือกการปรับแต่งบล็อกทำได้น้อย ไม่สามารถเพิ่มส่วนหัวที่มีขนาดต่างกัน (H1, H2, H3) และไม่มีตัวเลือกสี

bottom of page